ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวควบคุม PID

บทความฉบับนี้เป็นบทความเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของตัวควบคุม PID ซึ่งประกอบไปด้วย สมการคณิตศาสตร์ของตัวควบคุม PID, บล็อคไดอะแกรมตัวควบคุม PID, การกระทำทางคณิตศาสตร์ของตัวควบคุม PID และผลต่อตัวแปรเอาต์พุตของระบบ

บทความฉบับนี้เป็นบทความที่ต่อเนื่องมาจากบทความเรื่อง Open-loop Control System vs Closed-loop Control System

จากบทความเรื่องระบบควบคุมแบบวงเปิดและระบบควบคุมแบบวงปิด จะเห็นได้ว่าตัวควบคุม PID มีสมรรถนะที่ดีกว่ามากเมื่อเทียบกับระบบควบคุมแบบวงเปิดในการกำจัดสิ่งรบกวนออกไปจากระบบควบคุม

ดังนั้นในบทความฉบับนี้จะมาเรียนรู้กันว่าตัวควบคุม PID คืออะไรและมันทำงานอย่างไร

ตัวควบคุม PID คืออะไร

ตัวควบคุม PID คือตัวควบคุมชนิดหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมระบบในระบบควบคุมแบบวงปิด ซึ่งสามารถทำให้ระบบที่กำลังถูกควบคุมมีสมรรถนะที่ดีขึ้นมาได้ทั้งในด้านความเร็ว ความถูกต้องแม่นยำและในทางเสถียรภาพ

Closed-loop control block diagram
รูปที่ 1

รูปที่ 1 เป็นบล็อกไดอะแกรมระบบควบคุมแบบวงปิด ซึ่งตัวควบคุมในระบบควบคุมแบบวงปิดที่นิยมใช้กันมากไม่ว่าจะเป็นในวงการนักประดิษฐ์ งานวิจัยหรือในภาคอุตสาหกรรม นั้นคือ ตัวควบคุม PID

PID ย่อมาจากคำว่า Proportional-Integral-Derivative

  • Proportional (P) คือ สัดส่วน
  • Integral(I) คือ ปริพันธ์
  • Derivative (D) คือ อนุพันธ์

สมการของตัวควบคุม PID

สมการทางคณิตศาสตร์ของตัวควบคุม PID มีดังต่อไปนี้

ตัวควบคุม P

มีสมการคือ

    \[c_P(t)=K_pe(t)\]

โดยที่

c_P(t) คือ ตัวแปรควบคุมของ P

K_p คือ อัตราขยายสัดส่วน (Proportional gain)

e(t) คือ ตัวแปรความผิดพลาด ซึ่งสามารถหาได้จาก

    \[e(t)=r(t)-o_M(t)\]

โดยที่

r(t) คือ ตัวแปรอ้างอิง

o_M(t) คือ ตัวแปรเอาต์พุตที่ได้จากการวัด

ตัวควบคุม I

มีสมการคือ

    \[c_I(t)=K_i\int{e(t)d(t)}\]

โดยที่

c_I(t) คือ ตัวแปรควบคุมของ I

K_i(t) คือ อัตราขยายปริพันธ์ (Integral gain)

ตัวควบคุม D

มีสมการคือ

    \[c_D(t)={K_d\frac{de(t)}{dt}}\]

โดยที่

c_D(t) คือ ตัวแปรควบคุมของ D

K_d(t) คือ อัตราขยายอนุพันธ์ (Derivative gain)

ตัวควบคุม PID

คือนำสมการของตัวควบคุมทั้ง 3 สมการมารวมกัน ได้สมการดังนี้คือ

    \[c(t)=c_P(t)+c_I(t)+c_D(t)\]

    \[c(t)={K_pe(t)+K_i\int{e(t)d(t)}+K_d\frac{de(t)}{dt}}\]

บล็อกไดอะแกรมตัวควบคุม PID

เมื่อนำสมการของตัวควบคุม PID มาเขียนเป็นบล็อกไดอะแกรมควบคุม จะได้ดังรูปที่ 2

PID controller block diagram
รูปที่ 2

การกระทำทางคณิตศาสตร์ของตัวควบคุม PID และผลต่อตัวแปรเอาต์พุตของระบบ

จากสมการทางคณิตศาสตร์ของตัวควบคุม PID สามารถอธิบายลักษณะการกระทำทางคณิตศาสตร์ของตัวควบคุม PID และผลต่อตัวแปรเอาต์พุตของระบบ ได้ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1

การกระทำทางคณิตศาสตร์ผลต่อตัวแปรเอาต์พุต
Pเป็นสัดส่วนโดยตรงกับตัวแปรความผิดพลาดเพิ่มหรือลดความเร็ว
Iเป็นการหาพื้นที่ใต้กราฟของตัวแปรความผิดพลาดลดค่าความผิดพลาด
Dเป็นการหาความชันของตัวแปรความผิดพลาดลดการแกว่งและการพุ่งเกิน

ข้อมูลเพิ่มเติม


หากท่านมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใดสามารถสอบถามได้ที่

(เมื่อเข้า Wanno Acedemy ได้แล้ว กดส่งข้อความ เพื่อเริ่มพูดคุยกับผมได้เลยครับ)