ประกาศ! คอร์สนี้ได้ยุติการขายแล้วครับ
คอร์สการจูนตัวควบคุม PID
***คอร์สนี้กำลังอยู่ในช่วงการจัดทำ***
“เทคนิคและขั้นตอนในการจูนตัวควบคุม PID ในคอร์สนี้ ผมได้คิดค้นและวิจัยขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นเทคนิคและขั้นตอนที่ง่ายไม่ซับซ้อน แต่ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีตามคุณสมบัติที่ได้ระบุไว้”
ที่มาของคอร์สการจูนตัวควบคุม PID
หากท่านเคยได้ทดลองจูนตัวควบคุม PID ท่านจะรู้ว่าการจูนตัวควบคุม PID ให้ได้ผลตอบสนองตามที่ท่านต้องการนั้นมันเป็นเรื่องยากเลยที่เดียว ปัญหาที่ท่านอาจจะเคยเจอได้แก่
– เกิดค่าความผิดพลาด ตัวแปรเอาต์พุตไม่เข้าสู่ค่าตัวแปรอ้างอิง
– ตัวแปรเอาต์พุตเกิดการพุ่งเกินและการพุ่งต่ำที่มีค่ามาก
– หากตัวแปรเอาต์พุตเมื่อเกิดการพุ่งเกินแล้ว จะช้ามากกว่าจะกลับเข้าสู่ค่าตัวแปรอ้างอิง
– คุณสมบัติของผลตอบสนอง (รูปร่าง ความเร็ว) แตกต่างไปจากเดิมมากเมื่อตัวแปรอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง
– ตัวแปรเอาต์พุตไม่นิ่ง เกิดการแกว่งไปมาด้วยขนาดที่สูง อันเนื่องมาจากสัญญาณรบกวนที่เข้ามาในระบบ
สิ่งที่ท่านจะได้รับจากคอร์สการจูนตัวควบคุม PID
คอร์สการจูนตัวควบคุม PID นี้ เป็นคอร์สที่ต่อเนื่องจากคอร์สตัวควบคุม PID ขั้นพื้นฐาน คอร์สนี้ได้ถูกคิดค้นและวิจัยขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว ผลการจูนโดยการใช้ขั้นตอนในคอร์สนี้จะทำให้ได้คุณสมบัติของผลตอบสนองของระบบควบคุมเป็นดังต่อไปนี้
(1) ตัวแปรควบคุมของตัวควบคุม PID จะไม่เกิดการอิ่มตัวในช่วงของตัวแปรอ้างอิงที่ได้เลือกไว้ขณะทำการควบคุม (ตัวแปรควบคุมอาจจะถึงค่าสูงสุดเพียงแค่นิดเดียว แต่จะไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการควบคุม)
(2) ตัวแปรเอาต์พุตไม่เกิดการพุ่งเกินและการพุ่งต่ำในช่วงของตัวแปรอ้างอิงที่ได้เลือกไว้
(3) ผลตอบสนองของตัวแปรเอาต์พุตมีช่วงเวลาเข้าที่รวดเร็ว (หรืออาจจะเร็วที่สุด) ในแต่ละช่วงของตัวแปรอ้างอิงที่ได้เลือกไว้
(4) ผลตอบสนองของตัวแปรเอาต์พุตจะยังคงมีคุณสมบัติ (รูปร่าง ความเร็ว) ใกล้เคียงกัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายในช่วงของตัวแปรอ้างอิงที่ได้เลือกไว้
(5) การใส่ตัวกรองดิจิทัลที่เหมาะสมเข้าไปในระบบควบคุมแล้วจูนตัวควบคุม PID ตามขั้นตอน จะทำให้ตัวแปรเอาต์พุตเกิดการแกว่งไปมาน้อยลงกว่าเดิม ถึงแม้จะมีสัญญาณรบกวนเข้ามาในระบบควบคุม
หมายเหตุ: หากท่านได้เรียนคอร์สตัวควบคุม PID ขั้นพื้นฐานแล้วนำไปประยุกต์ใช้ในงานของท่าน ทำให้งานของท่านได้คุณสมบัติของการควบคุมเป็นไปตามที่ท่านต้องการ ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนคอร์สนี้
เนื้อหาและตัวอย่างผลการทดลองที่อยู่ภายในคอร์ส
โดยเนื้อหาและตัวอย่างที่อยู่ภายในคอร์สการจูนตัวควบคุม PID มีดังนี้คือ
(หมายเหตุ: เนื้อหาที่แสดงอาจจะมีการลดหรือเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยตามความเหมาะสมในช่วงการจัดทำขั้นตอนสุดท้าย)
บทที่ 1 แนะนำคอร์สการจูนตัวควบคุม PID
บทที่ 2 ผลตอบสนองของระบบเมื่อปรับแต่งอัตราขยายของตัวควบคุม PID
บทที่ 3 ขั้นตอนการจูนตัวควบคุม PID สำหรับระบบที่มีผลตอบสนองเร็ว
ส่วนหนึ่งของผลการทดลองในบทนี้
- ระบบควบคุมแรงดันเอาต์พุตของวงจร RC
การเปรียบเทียบสมรรถณะ PID ด้วยวิธีในคอร์ส PID ขั้นพื้นฐานกับวิธีการจูนในคอร์สนี้ในระบบควบคุมแรงดันเอาต์พุตของวงจร RC
- ระบบควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
การเปรียบเทียบสมรรถณะการจูน PID ระหว่าง (1) เลือกจูน PID ช่วงตัวแปรอ้างอิงแคบ กับ (2) เลือกจูน PID ช่วงตัวแปรอ้างอิงกว้าง
บทที่ 4 ตัวกรองแบบดิจิทัลและการจูน PID
ส่วนหนึ่งของผลการทดลองในบทนี้
- ระบบควบคุมแรงดันเอาต์พุตของวงจร RC
การเปรียบเทียบสมรรถณะของระบบควบคุมที่มีและไม่มีตัวกรองสัญญาณรบกวนในระบบควบคุมแรงดันเอาต์พุตของวงจร RC
- ระบบควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
การเปรียบเทียบสมรรถณะของระบบควบคุมที่มีและไม่มีตัวกรองสัญญาณรบกวนในระบบควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง