เส้นโค้งปฏิกิริยา (Reaction curve)

เส้นโค้งปฏิกิริยา (Reaction curve) คือ กราฟผลตอบสนองตัวแปรเอาต์พุตของระบบวงเปิดเมื่อป้อนอินพุตให้กับระบบเป็นฟังก์ชันขั้นบันได

เส้นโค้งปฏิกิริยา (Reaction curve) คืออะไร

เส้นโค้งปฏิกิริยา (Reaction curve) คือ กราฟผลตอบสนองตัวแปรเอาต์พุตของระบบวงเปิดเมื่อป้อนอินพุตให้กับระบบเป็นฟังก์ชันขั้นบันได

โดยมีบล็อกไดอะแกรมในการทดสอบระบบเพื่อหาเส้นโค้งปฏิกิริยาดังรูปที่ 1

Open-loop step test
รูปที่ 1

ประโยชน์ของเส้นโค้งปฏิกิริยา

ทำให้รู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบที่กำลังจะควบคุม ว่าก่อนการควบคุมระบบมีลักษณะอย่างไร ได้แก่

  • เป็นระบบที่มีผลตอบสนองช้าหรือเร็ว
  • มีสัญญาณรบกวนในระบบมากน้อยเพียงใด
  • ผลตอบสนองของระบบมีเวลาประวิง (delay time systems) หรือไม่มีเวลาประวิง (non-delay time systems)

สามารถนำไปหาอัตราขยายของตัวควบคุม PID

ขั้นตอนในการหาพารามิเตอร์ของเส้นโค้งปฏิกิริยา

ตัวอย่างที่แสดง เป็นการหาเส้นโค้งปฏิกิริยาของระบบควบคุมแรงดันเอาต์พุตของวงจร RC

ขั้นตอนในการหาเส้นโค้งปฏิกิริยาดังต่อไปนี้

1. จ่ายสัญญาณอินพุตคือตัวแปรควบคุม c(t) ซึ่งเป็นฟังก์ชันขั้นบันไดเข้าสู่ระบบ ดังรูปที่ 2 พร้อมทั้งบันทึกค่าตัวแปรควบคุม c(t) และตัวแปรเอาต์พุต o(t) เพื่อนำไปพล็อตกราฟ

Reaction curve determination block diagram
รูปที่ 2

2. พล็อตกราฟอินพุตซึ่งคือตัวแปรควบคุม c(t) ดังรูปที่ 3 และเส้นโค้งปฏิกิริยาของตัวแปรเอาต์พุต o(t) ดังรูปที่ 4

รูปที่ 3
Output response
รูปที่ 4

3. ทำการลากเส้นตัดกราฟเพื่อหาพารามิเตอร์ของกราฟอินพุตฟังก์ชันขั้นบันไดดังรูปที่ 5

Input variable for reaction curve determination
รูปที่ 5

ในการลากเส้นตัดกราฟดังรูปที่ 5 โดยมีขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

*ลากเส้นตรง เส้น (1) ขนานกับแกน x และให้ตัดแกน y ที่ค่าเริ่มต้นของกราฟได้ตัวแปรคือ c_i

*ลากเส้นตรง เส้น (2) ขนานกับแกน x และให้ตัดแกน y ที่ค่าสถานะอยู่ตัวของกราฟได้ตัวแปร c_f

จากรูปที่ 5 จะได้ค่าต่างๆ ดังนี้

    \[c_i=0, c_f=127\]

4 ทำการลากเส้นตัดกราฟเพื่อหาพารามิเตอร์ของเส้นโค้งปฏิกิริยาดังรูปที่ 6

Out variable for reaction curve determination
รูปที่ 6

ในการลากเส้นตัดกราฟดังรูปที่ 6 โดยมีขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

*ลากเส้นตรง เส้น (1) ขนานกับแกน x และให้ตัดแกน y ที่ค่าเริ่มต้นของกราฟได้ตัวแปรคือ o_{Mi} และเวลาที่จุดเริ่มต้นของกราฟคือ t_0

*ลากเส้นตรง เส้น (2) ขนานกับแกน x และให้ตัดแกน y ที่ค่าสถานะอยู่ตัวของกราฟได้ตัวแปร o_{Mf}

*ลากเส้นตรง เส้น (3) สัมผัสกับจุดเปลี่ยนโค้งของกราฟ โดยลากเส้นยาวจนตัดกับเส้น (1) และ เส้น (2) โดยที่จุดตัดกับเส้น (1) ได้ตัวแปรคือ t_1

*ลากเส้นตรง เส้น (4) ขนานแกน y และให้ตัดกับจุดที่เส้น (2) และเส้น (3) ตัดกัน โดยให้ลากลงมาตัดกับเส้น (1) ได้ตัวแปรคือ t_2

5 นำค่าตัวแปรที่ได้จากกราฟอินพุตฟังก์ชันขั้นบันไดและจากเส้นโค้งปฏิกิริยามาใช้เพื่อหาพารามิเตอร์ที่ใช้ในการหาอัตราขยายของตัวควบคุม PID โดยกำหนดค่าต่างๆ ดังรูปที่ 7 ซึ่งค่าพารามิเตอร์ต่างๆ มีดังต่อไปนี้

D คือ เวลาประวิง

T คือ ค่าคงตัวทางเวลา

K คือ อัตราขยายของระบบ

Reaction curve
รูปที่ 7

จากรูปที่ 7 จะได้ค่าต่างๆ ดังนี้

t_0=0, t_1=0.14, t_2=1.81, o_{Mi}=0, o_{Mf}=2492

จากรูปที่ 6 และรูปที่ 7 สามารถหาพารามิเตอร์ต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

    \[D=t_1-t_0\]

    \[T=t_2-t_1\]

    \[K=\frac{o_{Mf}-o_{Mi}}{c_f-c_i}\]

ดังนั้นจากรูปที่ 6 และ รูปที่ 7 จะได้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ดังนี้

    \[D=t_1-t_0\]

    \[D=0.14-0=0.14\]

    \[T=t_2-t_1\]

    \[T=1.81-0.14=1.67\]

    \[K=\frac{o_{Mf}-o_{Mi}}{c_f-c_i}\]

    \[K=\frac{2490-0}{127-0}=19.62\]

ดังนั้นสรุปได้ค่าพารามิเตอร์ของเส้นโค้งปฏิกิริยาเพื่อจะนำไปหาอัตราขยายตัวควบคุม PID ดังตารางที่ 1 คือ

ตารางที่ 1

DTK
0.141.6719.62

เมื่อได้พารามิเตอร์ D, T และ K จะนำพารามิเตอร์เหล่านี้ไปหาอัตราขยายตัวควบคุม PID ในบทความหน้าต่อไป

ซึ่งบทความหน้าเป็นบทความที่หาอัตราขยายตัวควบคุม PID คือบทความ “Ziegler-Nichols vs Chien-Hrones-Reswick [ PID ]” ซี่งท่านสามารถคลิกที่ชื่อบทความเพื่อนำไปสู่บทความนี้ต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • การควบคุมและเก็บข้อมูลการทดสอบได้ทำบนแพลตฟอร์มของ Arduino

หากท่านมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใดสามารถสอบถามได้ที่

(เมื่อเข้า Wanno Acedemy ได้แล้ว กดส่งข้อความ เพื่อเริ่มพูดคุยกับผมได้เลยครับ)